Thursday, November 11, 2010

เมล็ดกาแฟ และประวัติความเป็นมา


         วันนี้กลับมาเจอกันอีก เพื่อมาพูดคุยกันอีกนะครับ คราวที่แล้วผมได้พูดถึงส่วนประกอบ และสรรพคุณของเมล็ดกาแฟไปแล้วนะครับ มาคราวนี้จะมาพูดถึงเรื่องชนิดของกาแฟกันดีกว่านะครับ ถ้าจะว่าไปแล้วนะครับกาแฟนี้มีหลายชนิดหลายสายพันธ์มากมาย จนบอกกล่าวกันไม่หวาดไม่ไหวหรอก ทั่วโลกนะมีกาแฟอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่เรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ทีปลูก บ้างที่ก็ตามสายพันธ์ แต่กาแฟที่ได้รับความนิยมจากนักดื่มกาแฟส่วนใหญ่นะ มีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธ์ใหญ่ๆ อันได้แก่ โรบัสต้า (Robusta) อาราบีกา(Arabica) และก็ ไลเบริกา(Liberica)
         โดย โรบัสต้านะ จะเป็นสายพันธ์ที่ทนทานต่อโรค ปลูกง่าย และยังให้ผลิตต่อไรสูง จะมีคาเฟอีน 2% มักที่จะนิยมนำไปทำกาแฟสำเร็จรูป หรือนำเอาไปผสมพันธ์กับสายพันธ์อื่นๆ
        ด้าน อาราบีกานั้นจัดได้ว่าเป็นสายพันธ์ที่ดีที่สุด แต่ทว่าจะปลูกยาก และดูแลรักษายากสักหน่อย จะต้องมีพื้นที่ปลูกบนพื้นที่สูงๆเท่านั้น มีคาเฟอีน 1% ผลผลิตต่อต้นจะมีจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของกาแฟ โรบัสต้า คงประมาณการกันว่า ร้อยละ75 ของกาแฟที่ทำการซื้อขายกันอยู่ในตลาดโลก จะเป็นกาแฟพันธ์ อาราบีก้า
       ส่วนไลเบริกานั้นมาจากแอฟริกา จะปลูกง่ายเหมือนกับโรบัสต้า คงมีระดับคุณภาพประมาณเทียบเท่ากับโรบัสต้า ครับมารู้ที่มาที่ไปแล้ว  กาแฟที่เรียกว่า Bleand นั่นนะก็คือ กาแฟที่ได้รับการปรุงด้วยสูตรพิเศษ โดยการผสมกาแฟจากสายพันธ์ต่างๆ เพื่อที่จะให้เกิดคุณสมบัติพิเศษ ด้านรส กลิ่น ที่ต่างกันออกไป การคลุกเค้ากาแฟจากแหล่งต่างๆ กัน ก็เพื่อจะให้ได้รสชาติที่แตกต่างกัน
      กาแฟนะเป็นภาษาสากลที่คนทุกชาติรู้จักกันดี คนอังกฤษ และอเมริกัน เรียกว่า Coffee, คนจีนเรียก Kafie , คนกัมพูชา เรียก Cafe ส่วนคนอิรักจะเรียกว่า Qahwa  แต่สำหรับคนไทนนั้นจะเรียกขานว่า กาแฟ กันอย่างคุ้นปากมากที่สุด แต่คุณรู้ไหมว่าก่อนที่จะมาของคำว่ากาแฟน นั้นนะ เรารู้จักเจ้าน้ำสีดำ รสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอมเย้ายวนด้วยชื่ออะไร คำตอบคือ “ข้าวแฟ่” หรือ “เข้าแฟ่” ที่ฟังดูก็อาจจะไม่เข้าหูสักเท่าไร และดูจะไม่น่าจะอร่อยสักเท่าไร ไม่เหมือนคำเรียก ข้าวเหนียว ข้าวสวย ข้าวหมาก แต่จากการบันทึกทางประวิติศาสตร์ของไทยได้มีกล่าวไว้ว่า ชาวสยาม หรือชาวไทยนะได้มีการดื่มกาแฟมาตั้งแต่สมัยอยุธยากันแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ปรากฏหลักฐานการเข้ามาในราชธานีระบุวัน เวลา และสถานที่อย่างเด่นชัด แต่จากจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ได้มีการบักทึกไว้ว่า พวกชาวแขกมัวร์ เป็นชนชาติที่นิยมชมชอบกาแฟมาก
        ที่มาของคำว่า กาแฟ่ นั้นก็มากจากการที่คนเราเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Coffee และจากหนังสือ สัพพะวัจนะ ฉบับปีพุทธศักราชที่ 2397 ที่จัดพิมพ์ โดย นายปาลเลอกัวล์(Pallegoix) ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 คนไทยเรียก “กาแฟ” ว่า “กาแฟ่”
แล้วต่อมาเมื่อครั้งที่ หมอบรัดเลย์ รวบรวมข้อมูลเพื่อทำหนังสือ”อักขราภิธารศรับท์” ก็ยังได้บรรจุเรียกขานกาแฟในยุคนั้นว่า “กาแฝ่”
        ความนิยมในการดื่มกาแฟของคนไทยนั้น แม้จะยังไม่แพร่หลายเท่ากับการดื่มชา นั่นก็อาจจะเพราะว่ากาแฟเป็นสีดำๆ มีรสขมกว่า และนั่นอาจจะเริ่มมาจากสังคมของพวกขุนนางข้าราชการที่เป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงไทยสมัยนั้นคงจะไม่นิยมนัก แต่อาจจะขอหางกาแฟเติมลงในน้ำหวาน หรือเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เพื่อที่จะเพิ่มสีสัน และรสชาติแบบขมปะแล่มๆ ทำให้เครื่องดื่มมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
       ส่วนหลักฐานที่ชัดเจน และพอที่จะอธิบายได้เค้าร่างของประวัติศาสตร์การเริ่มดื่มกาแฟ หรือข้าวแฟ่ อย่างเป็นจริงเป็นจังในสยามก็คงจะเมื่อปี พ.ศ. 2377 แผ่นดินของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คงต้นรัตนโกสินทร์ ปรากฏว่าพระองค์ได้ทรงมีพระดำริให้ข้าราชการบริพารฝ่ายในทดลองปลูก และทำสวนกาแฟจำนวน 5000 ต้นแล้วได้ทรงกะเกณฑ์ชายหนุ่ม หรือเริ่มทำอุปกรณ์จากเปลือกมะพร้าวคล้ายกับกระถาง แล้วจึงบรรจุต้นกล้าแจกให้กับสวนของหลวงคือ บริเวณวัดราชประดิษฐ์สถิตสีมาราม และสวนของข้าราชการบริพารรวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย และในหมายยังรับสั่งให้เจ้าภาษีจัดน้ำรินถวายแด่พระสงฆ์ โปรดให้ตระเตรียมน้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย และข้าวแฟ่ไว้ด้วย สันนิษฐานว่าวิธีการชงอาจจะใช้วิธีการต้มลงในหม้อ แล้วจึงกรองเอากากกาแออกเหมื่อนกับการชงชา เป็นรูปแบบที่เรียกกันว่า”กาแฟโบราณ” หรือ”โอยั้วะ”เวลาจะปรุงรสก็เติมน้ำตาลทรายกรวด หรือน้ำตาลทรายเพื่อที่จะเพิ่มรสชาติให้หวานหอมอร่อย
      และเมื่อครั้งที่ท่านเซอร์ จอหน์ เบาวริ่ง ราชทูตจากสหราชอาณาจักรเข้าทำการเจรจาค้าขาย และทำสนธิสัญญาเบาวริ่งกับไทย เมื่อ พ.ศ.2398 ก็ยังทรงได้มีบันทึกไว้ว่า ได้เดินทางไปเที่ยวสวนกาแฟของสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ที่ทางฝั่งธนบุรี และยังได้มอบเมล็ดกาแฟจำนวน 3 กระสอบเป็นของกำนัลแด่ท่านทูตในการเดินทางกลับประเทศด้วย เอาละครับวันนี้ก็พอจะได้อะไรเพิ่มขึ้นมาอีกนะครับสำหรับเจ้าเรื่องกาแฟนี้ วันนี้ก็เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

No comments:

Post a Comment