Friday, November 12, 2010

ประวัติของร้านกาแฟไทย

         วันนี้เราว่ากันเรื่องร้านกาแฟ ร้านแรกของไทยกันเลยดีกว่านะครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราย้อนไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2ประมาณปี พ.ศ. 2460 ตึกหลังหนึ่งตั้งอยู่หน้าบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ได้เปิดร้านกาแฟโดย มิสเตอร์มีสโคล ชาวอเมริกันที่มาตั้งถิ่นฐานบนผื่นแผ่นดินไทย มีชื่อร้านว่า”Rea Cross Tea Room” คำว่า Red Cross มาจากสัญญาลักษณ์ของสภากาชาด ส่วนTea Room ถึงแม้จะแปลว่าห้องชา แต่ก็มีกาแฟให้บริการด้วย
         ลูกค้าขาประจำจะทราบดีว่า Red Cross Tea Room จะเปิดบริการเฉพาะวันพฤหัสบดี เวลา 15.00-18.00น แขกส่วนใหญ่จเป็นเจ้านาย ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ชาวต่างประเทศที่มีรสนิยม และหลงใหลในกลิ่นไอของรสกาแฟ และชา ผลกำไรจากการขายกาแฟ นายมีสโคลได้ส่งมอบเพื่อที่จะเป็นสาธารณะประโยชน์แก่องค์การกาชาดของฝ่ายสัมพันธมิตร ว่าแล้วก็ทำให้เหมือนว่ากินกาแฟช่วยชาติ
         นับจากนั้นมาความนิยมในการดื่มกาแฟ และร้านกาแฟที่มีเพิ่มมากขึ้นจากนักเรียนไทยที่ไปศึกษายังต่างประเทศ และได้นำเอาวัฒนธรรมการดื่มน้ำดำชนิดนี้กลับมาด้วย
          ก่อนที่คนไทยจะรู้จักชื่อ และรสชาติอันเข้มข้นของเอสเพรสโซ่ หรือละเอียดกับฟองครีมของคาปูชิโน หากเราจะย้อนหลังไปในยุคก่อนเก่าในสมัยของอากง อาม่า ยังเป็นหนุ่มสาววัยแรกรุ่น เครื่องดื่มยอดฮิตสำหรับคนวัยนั้นคงจะไม่พ้น โอเลี้ยง โอยั๊วะ หรือยกล้อ หรือบัญญัติที่เรียกกันร่วมๆว่า กาแฟโบราณ ซึ่งได้รับความนิยมจากคนไทย ไม่น้อยหน้าฝรั่งมั่งค่า หรือพวกอาหรับทะเลทราย

       อาจจะมาเสียงไอกระแอมจากคนอีกฝั่งของโลกว่า กาแฟของเรานั้นไม่ต่างจากน้ำดำๆ จากสารพัดพืชที่เอามาคั่วมาผสมปนเปกัน ทั่ง มะพร้าว มะขาม ถั่ว กาแฟ ยิ่งไปกว่านั้นว่ากันว่า สูตรกาแฟสมัยสงครามโลกนั้น เป็นการผสมน้ำมะขามคั่วเติมรสนุ่มๆ ด้วยกะทิ มันจะน่าอร่อยตรงไหน
          แต่มันก็มิได้ทำให้การดื่มกาแฟของคนไทย ลดน้อยถอยลงไปกว่าเพื่อนบ้านฝั่งไหนๆเลย หากจะวัดกันที่วัตถุดิบ และขบวนการผลิต เราก็อาจจะเป็นรองในแง่ของการเป็นต้นตำหรับ และก็ความหรูหรามีระดับ แต่ในเรื่องของการสร้างสรรค์ หรือการสนองความต้องการของผู้ดื่ม โอเลี้ยงของเราก็สามารถที่จะผงาดยืนบนแป้นขนะเลิศ ชนะใจของคนไทยมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว
           ย้อนกลับไปเมื่อสมัยก่อน ภาพที่คุ่นๆ ตาที่พ่อบ้านแม่บ้านหิ้วถุงโอเลี้ยง โอยั๊วะ กาแฟเย็น เกี่ยวกับนิ้วห้อยต่องแต่งไปมา พักเหนื่อยพักร้อนก่อนกายก็ดูดให้คลายร้อน รสชาติกำชาบไปถึงกระเพาะ ด้านลูกเด็กเล็กแดงก็มักจะถูกใช้ให้หิ้วกระติก กระป๋อง ให้วิ่งไปซื้อกาแฟกับอาโกที่หน้าปากซอย พอขากลับพอเหนื่อยก็แอบๆ ดูดกาแฟในกระติกแก้เหนื่อยบ้าง

           กาแฟโบราณผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย ไม่ต่างอะไรกับกาแฟร้อนที่ต้องคู่กับปาท่องโก๋ ลองคิดหลับตานึกภาพยามเช้าในตลาด หรือที่หน้าปากซอยบ้าน จะแออัดไปด้วยคอกาแฟพันธ์แท้ รุ่นเก๋าๆ มานั่งจิบกาแฟกันก่อนไก่จะโห่พระอาทิตย์จะขึ้น พระจะมาบิณฑบาตเสียอีก เมื่อวงกาแฟครบคน ความบันเทิงแม้จะไม่เทียบเท่ากับวงสุรา แต่รับประกันว่าบทสนทนานั้นเต็มเปี่ยวไปด้วยอรรถรส จนเกิดเป็นนิยามที่เรียกขานกันว่า”สภากาแฟ” สภากาแฟสมัยนั้น คงคึกคัก และเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มาบอกเล่าสู่กันฟังกันตั้งแต่หัวรุ่ง ไม่ต่างกับรายการคุยข่าวยามเช้าที่กำลังนิยมกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ไล่กันไปตั้งแต่เรื่องการเมือง การมุ้ง เรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว รำลึกถึงความหลัง และสังสรรค์เฮฮาตามประสาคนคอเดียวกัน สภากาแฟก็ไม่ต่างอะไรจากแหล่งข่างกรองของหมู่บ้าน ที่ใครอยากจะรู้อะไรก็ให้มาถาม ใครอยากฝากอะไรก็ให้มาร่วมวงไพบูลย์ครับวันนี้ก็คงจะพอสมควรแล้วละครับไว้มาวันกันใหม่คราวหน้านะครับ

No comments:

Post a Comment